top of page
  • รูปภาพนักเขียน197 Studio

เก่งด้าน "เสียง" ทำงานอะไรได้บ้าง?

วันนี้เราจะมาดูกันว่า เรียนเกี่ยวกับด้านเสียงหรือมีทักษะเกี่ยวกับด้าน Sound Production สามารถทำงานอะไรได้บ้าง วันนี้แอดมินยกตัวอย่าง 7 อาชีพยอดนิยมที่คนเก่ง"เสียง" สามารถประกอบอาชีพได้ทันที


1. Sound Engineer : อาชีพนี้เป็นการเรียกโดยภาพรวมจากองค์กรทั่วไปที่รับสมัครงาน หน้าที่หลักๆที่ทำคืออยู่ในห้องอัดเสียง คอยคุมอัดเสียงพูด/เสียงร้อง ใส่เสียงซาวด์ให้วิดีโอ มิกซ์เสียงวิดีโอ ฯลฯ ส่วนใหญ่องค์กรที่รับสมัครนี้ก็จะเป็นคลื่นวิทยุ โปรดักชั่นเฮ้าส์ สตูดิโอ มหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐและเอกชนที่มีฝ่ายผลิตสื่ออยู่ในองค์กร

2. Foley Artist / Foley Recordist : อาชีพนี้โดยทั่วไปอาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก แต่ถ้าอยู่ในแวดวงของภาพยนตร์จะต้องรู้จักดีอย่างแน่นอน อาชีพ Foley Artist จะทำหน้าที่ในการสร้างเสียงประกอบ โดยการทำการแสดงเหมือนนักแสดงที่อยู่ในภาพยนตร์ ในภาพกำลังทำอะไร เราก็ทำให้เกิดเสียงนั้นขึ้นมาให้เกิดความสมจริงมากที่สุด เหมือนเราเป็นนักแสดงคนนึงเลยที่อยู่ในภาพยนตร์ อาชีพนี้อาจจะยังไม่แพร่หลายในวงกว้างในประเทศไทยมากนัก จะมี Foley Artist ในไทยเพียงไม่กี่คนซึ่งจะอยู่ที่สตูดิโอชั้นนำของประเทศ เช่น Kantana / Ramindra Sound Recording Studio เป็นต้น ส่วน Foley Recordist ก็จะทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงให้นั่นเอง

3. Sound Designer : เป็นอาชีพที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ต้องทำเสียงที่ไม่มีอยู่จริงในธรรมชาติออกแบบมาให้สมจริงที่สุด เช่น เสียง UFO , ดาบเลเซอร์, เสียงเสกคาถาจากไม้กายสิทธิ์ โดยอาจจะเกิดจากการใช้โปรแกรมในการทำ หรือ นำเสียงที่มืออยู่แล้วมาใส่ Effect ต่างๆ เพื่อให้ได้ตามที่ต้องการก็ได้

4. Boom Operator หรือ Boom Man : อาชีพนี้เป็นที่แพร่หลายในวงการ Video Production และ ภาพยนตร์ โดยจะทำหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับไมค์บูม ไม่ว่าจะเป็นการถือไมค์บูมให้รับเสียงนักแสดงให้ได้จุดที่รับเสียงดีที่สุด การหลบเงาจากการถือไมค์ไม่ให้ทับนักแสดง การต่อสายสัญญาณและระบบเสียง ในกองถ่ายขนาดเล็กอาจจะต้องทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงจากเครื่องบันทึกเสียง (Audio Recorder) อีกด้วย อาชีพนี้ต้องใช้ความเชึ่ยวชาญและทักษะการฝึกฝนเป็นอย่างมาก หาก Boom man ไม่มีความเชี่ยวชาญ เราอาจจะได้เสียงบรรยากาศที่ดังมากกว่าเสียงพูดก็เป็นได้ ลำบากในขั้นตอนการ Post Production ไปอี๊กกก 555+

5. Live Sound Engineer : อาชีพนี้จะแบ่งออกเป็นอีกหลายตำแหน่งในการทำงานเช่น FOH หรือ คนที่คอยคุมอยู่หน้ามิกส์เซอร์ (Mixer Console) , Sound Stage ที่คอยช่วยเดินสายและคอยจัดการระบบต่างๆบนเวที, Sound System Engineer ที่คอยออกแบบระบบให้เหมาะสมกับสเกลงาน อาชีพเหล่านี้มีความท้าทายเป็นอย่างมากเพราะเราจะต้องจัดการเสียงให้ออกมาดีที่สุดแบบ "สด" นั่นเอง หากไม่มีความเชี่ยวชาญจะเกิดปัญหาหลายๆอย่างได้ เช่น ไมค์ไม่ติด กำลังไฟไม่พอ เสียงขุ่นมัว เสียงไมค์หอน เพราะฉะนั้นคนที่ทำอาชีพนี้จะต้องมีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดีและรวดเร็วมากๆด้วย

6. Music Producer : จะเป็นสายที่มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีโดยที่ Sound Engineer กับ Music Producer จะใช้ทักษะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง องค์กรโดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจตรงจุดนี้ คิดว่า Sound Engineer ทุกคนจะต้องทำเพลงเป็น ซึ่งไม่จริงเลย Music Producer จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของดนตรี มองภาพรวมของดนตรีให้ออก Mood & Tone ของเพลง รวมไปถึงวางแผนงบประมาณ และการตลาดเพื่อให้เพลงที่ได้ออกมานั้น ตรงทำวัตถุประสงค์มากที่สุด

7. Teacher : หรืออาชีพคุณครูหรืออาจารย์นั่นเอง โดยคนที่มีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญนั้น สามารถที่จะเป็นอาจารย์พิเศษตามโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยได้ โดยจะนำความรู้และประสบการณ์จริงที่ได้จากการทำงานมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจทางด้านเสียง ได้นำไปต่อยอดหรือประกอบอาชีพของตนเองต่อไป


และนี่ก็คือ 7 อาชีพสายเก่งด้าน "เสียง" ที่ 197 Studio นำมาฝากกันในวันนี้ หากสนใจในเรื่องของการทำเพลง การใช้โปรแกรมเสียง สามารถติดตามได้ทาง www.197studiothailand.com และ Social Media ต่างๆของ 197 Studio ได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Share กับ Like กันด้วยน้าาา ^^

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page